วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สมุนไพรไทย

  




ใบเตย

    "ใบเตย" ที่มักถูกนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แถมยังช่วยแต่งสีเขียวให้กับขนมไทยด้วย ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้ว่าประโยชน์ของ "เตยหอม" มีเพียงเท่านี้ แต่จริง ๆ แล้ว นอกจาก "เตยหอม" จะมีดีที่ความหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพแฝงอยู่ด้วย  โดย "ใบเตยหอม" 100 กรัม จะให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี และยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น


ตะไคร้

ตะไคร้ เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยประโยชน์ของตะไคร้และสรรพคุณของตะไคร้นั้นมีมากมาย สรรพคุณตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น


มะกรูด


ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่างๆแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ




มะตูม
    มะตูม  เป็นพืชสมุนไพรไทยที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ผลอ่อนสีเขียว และผลแก่มีสีเหลือง เปลือกจะแข็ง เอกลักษณ์ของพืชชนิดนี้คือกลิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกได้ว่าหอมมากๆ มีการนำไปแปรรูปหลากหลาย หลักๆ เป็นในรูปผลแห้งพร้อมชงได้ทันที เรียกได้ว่าสะดวกดี สำหรับสรรพคุณสมุนไพรไทยของมะตูมคือเป็นยาระบาย ขับลม ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ขับถ่ายดี เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ และยังแก้อาการร้อนในได้ดีอีกด้วย



ใบบัวบก

ใบบัวบก  อันนี้เว็บเราก็เคยเขียนไว้เช่นกัน เช่นเคยคลิ๊กอ่านได้ที่ลิ้งค์เลยนะครับ    ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก  สำหรับสรรพคุณที่ทราบกันดีคือแก้ช้ำใน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ แก้อาการเริ่มโรคบิด แก้ท้องร่วง รักษาโรคผิวหนัง (ผดผื่นคันที่มากับหน้าร้อน) ลดความเครียด บำรุงสมอง นอกจากนี้ยังรักษาแผลเปื่อย และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก


ฝาง

ฝาง พืชชนิดต่อมาคือฝาง  ฝางเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม มีหนามแข็งๆทั่วทั้งลำต้นเปลือกนอกสีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วทั้งเถา ส่วนปลายกิ่งจะมีหนามแหลมสีดำ ถ้าปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น พืชชนิดนี้หายากหน่อยมักพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ  แก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ (หมายถึงภาวะผิดปรกติ จากภาวะของระบบย่อยอาหาร) และที่สำคัญคือแก้ร้อนใน

                                                                                                                                                                                                               

ดอกเก๊กฮวย

ดอกเก๊กฮวย อาจไม่เชิงเป็นสมุนไพรไทยเท่าไหร่ แต่ถือว่าหาทานได้ง่าย ถึง ง่ายมากในเมืองไทย ซึงเก๊กฮวยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน เป็นพืชล้มลุกอยู่ในตระกูลเดียวกับเบญจมาศ สำหรับชื่อแบบไทยๆบางคนก็เรียกว่า เบญจมาศสวน หรือเบญจมาศหนู เก๊กฮวยจะมีดอกสีขาว และสีเหลือง สรรพคุณเป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน ขับลม ขับเหงื่อ เป็นยาแก้ปวดท้อง และช่วยระบาย ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ป้องกันโรคความดันสูง แก้อาการไข้ แก้ไอ แก้เวียนหัว หน้ามืด



ตรีผลา

ตรีผลา อันนี้ไม่ใช่พืชตัวเดียว  แต่หมายถึง ผลไม้ 3 ชนิด อันได้แก่ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก และมะขามป้อม ว่ากันว่าเป็นสูตรยาที่มีสรรพคุณช่วยรักษาความสมดุลธาตุ สรรพคุณคือเป็นยาระบาย ช่วยล้างพิษออกจากร่างกาย แก้ลมจุกเสียด เป็นยาบำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้เสมหะ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ นอกจากนี้ยังแก้เลือดออกตามไรฟัน (เนื่องจากมีวิตามินซีสูง)  อย่าลืมถ้าจะครบองค์ประกอบของตรีผลา ต้องมีสมุนไพรครบทั้งสามชนิดนะครับ ในตำรายาโบราณได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องสามชนิดว่าช่วยลดผลข้างเคียงของกันและกัน




 ที่มา : http://health.kapook.com/view32465.html
 
 ที่มา :http://frynn.com/ตะไคร้/

 ที่มา :http://frynn.com/มะกรูด/

 ที่มา :http://xn--o3cepkej9b3gpeg.net/